เมนู

2. นิวรณสูตร


[268] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ 1 พยาปาทนิวรณ์ 1 ถีนมิทธนิวรณ์ 1
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ 1 วิจิกิจฉานิวรณ์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นิวรณ์ 5 ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อละนิวรณ์ 5 ประการนี้แล สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ เพื่อละนิวรณ์ 5
ประการนี้แล.
จบ นิวรณสูตรที่ 2

3. กามคุณสูตร


[269] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้
แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้แล ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้
เพื่อละกามคุณ 5 ประการนี้แล.
จบ กามคุณสูตรที่ 3

4. อุปาทานขันธสูตร


[270] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้
5 ประการเป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ 1 เวทนาปาทานักขันธ์ 1
สัญญูปาทานักขันธ์ 1 สังขารูปาทานักขันธ์ 1 วิญญาณูปาทา-
นักขันธ์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้
เพื่อละอุปาทานักขันธ์ 5 ประการนี้แล.
จบ อุปาทานขันธสูตรที่ 4

5. โอรัมภาคิยสูตร


[271] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาติยสังโยชน์ 5 ประการ
นี้แล 5 ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ 1 วิจิกิจฉา 1 สีลัพพต-
ปรามาส 1 กามฉันทะ 1 พยาบาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอรัม
ภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการนี้แล.
จบ โอรัมภาคิยสูตรที่ 5